ครม. เห็นชอบ ( ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินฯ มอบหน่วยงานเดินหน้าตามเป้าหมาย 15 ปี 3 ระยะ บจธ. รับผิดชอบกระจายการถือครองที่ดินฯ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566 – 2580) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช. ) เสนอ และมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศอย่างบูรณาการใน ระยะ 15 ปีข้างหน้า
2) เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและ ทรัพยากรดินระยะกลาง (5 ปี) และสามารถนาไปขับเคลื่อนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของ ประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นไปในเชิงรุก และมีประสิทธิภาพ
3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยคานึงถึงมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ รวมถึงสามารถสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนา
โดยมีพันธกิจ 4 ประการคือ
1) สงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐ และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าเพื่อรักษาความสมดุลของระบบ นิเวศ
2) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และส่งเสริมการจัดที่ดินทำกินให้ประชาชน
4) เพิ่มศักยภาพกลไก เครื่องมือ องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องคมหาชน ) บจธ. เปิดเผยว่า ในส่วนของ บจธ.นั้นคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการในประเด็นนโยบายที่ 3 : การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงคมนาคม ( กค. ) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( กษ. ) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( ทส. ) กระทรวงมหาดไทย ( มท. ) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ( สคทช. ) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกระจายการถือครองที่ดินด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมถึงการจัดที่ดินทำกิน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
สำหรับเป้าหมายแบ่งออกเป็น
เป้าหมายระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการการกระจายการถือครองที่ดิน
เป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2571 – 2575) เช่น ประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และ เป้าหมาย และมีระบบการขับเคลื่อนและกำกับติดตามผลการจัดที่ดินที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2576 – 2580) เช่น สัดส่วนการถือครองที่ดินมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยลดลง
ผลลัพธ์สุดท้าย คือการกระจายการถือครองที่ดินมีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น และประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้