เรื่องราวของป้าก้อย ที่ผ่านความทุกข์ยากจากหนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบเป็นปัญหาใหญ่ และทำให้หนี้ครัวเรือนสูงกว่าความเป็นจริง เป็นหนี้ที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลของประเทศ และทำให้เกษตรกรจำนวนมากต้องสูญเสียที่ดิน หากช่วยเหลือได้ทันก็ทำให้ที่ดินไม่ต้องหลุดมือ ป้าก้อยคือคนที่ผ่านประสบการ์นั้นมาแล้ว

“ที่ดิน” ที่เป็นมากกว่าปัจจัยการผลิต สหกรณ์ฯ สันทราย จ.เชียงใหม่

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาชีพของสมาชิก รายได้ รายจ่าย สภาพปัญหา รวมทั้งการถ่ายทำภาพมุมสูงเพื่อจัดทำแผนที่ผังแปลงที่ดินในพื้นที่สหกรณ์ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน อ.สันทราย จำกัด หลังจากคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน มีมติขยายเวลาการใช้ประโยชน์แก่สมาชิกในพื้นที่โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ขุมชน ซึ่งสหกรณ์ฯ สันทราย เป็นหนึ่งในนั้น ล่าสุด ที่นาแปลงรวมของสมาชิก ซึ่งใช้ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ใกล้เก็บเกี่ยวแล้ว และมีการบริหารจัดการโดยแบ่งผลผลิตเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งให้สมาชิกสหกรณ์ ส่วนที่ 2 แบ่งไว้แจกจ่ายเครือข่ายที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 สำหรับแปลงที่ดินที่นางมณีรัตน์ ตุ๋นแจ้ สมาชิกสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนอำเภอสันทรายฯ ได้รับการจัดสรร เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ปลูกชะอม หรือที่เรียกว่าผักหละ ส่มารถเก็บผลผลิตได้วันละประมาณ 30 กิโลกรัม จำหน่ายกิโลกรัมละ 15 บาท โดย 3 ถึง 5 วันจะเก็บผลผลิตได้หนึ่งครั้ง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 3,000 บาท สหกรณ์ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเก…

บอร์ด บจธ. พิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในโครงการฯ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ภัยเศรษฐกิจ และภัยจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

วันที่ 27 ตุลาคม 2564 ที่ห้องประชุมชั้น 6 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) อาคารเบญจศิริ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการ บจธ. พร้อมด้วยกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานอนุกรรมการชุดต่างๆ และผู้บริหาร บจธ. ร่วมประชุมครั้งที่ 11/2564 ผ่านการประชุม Video conference Zoom โดยมีวาระสำคัญเพื่อพิจารณา ดังนี้ – แก้ไขระเบียบ บจธ. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 – แก้ไขระเบียบ บจธ. ว่าด้วยค่าตอบแทนการเลิกจ้างผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2559 – มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจาก บจธ. ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ภัยเศรษฐกิจ และภัยจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทั้งนี้ ผู้บริหาร บจธ. ยังนำเสนอความคืบหน้าการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. รับทราบ ข้อเรียกร้องของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาในการกำหนดรูปแบบการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่ดิน …

ลงพื้นที่โครงการนำร่อง บ้านท่ากอม่วง ป่าซาง ร่วมหาแนวทางพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน

  26 ตุลาคม 2564 นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการที่ดิน 2 ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน ลงพื้นที่สหกรณ์การเกษตรเกษตรโฉนดชุมชนบ้านท่ากอม่วง จำกัด หมู่ที่ 3 ต.หนองปสาสะวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เพื่อเก็บข้อมูลเกษตรกร การใช้ประโยชน์ที่ดิน รายได้ รายจ่าย ปัญหาและอุปสรรค ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นสวนลำไย และเกษตรผสมผสานบ้าง แต่ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตลำไยตกต่ำ รวมทั้งการจ้างงานในพื้นที่ลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 เพื่อนำมาวางแผนแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป พร้อมบันทึกภาพมุมสูงใช้ประกอบการทำผังแปลงที่ดินให้เป็นปัจจุบัน หลังจากได้ลงพื้นที่โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชนมาแล้ว 2 แห่งคือ สหกรณ์การเกษตรโฉนดชุมชนป่าซาง จำกัด ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และสหกรณ์การเกษตรโฉนดชุมชนบ้านแพะใต้ จำกัด ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรเกษตรโฉนดชุมชนบ้านท่ากอม่วง จำกัด มีสมาชิกได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของ บจธ. 90 ราย เนื้อที่ 314-2-19.9 ไร่ สำหรับพื้นที…

ชีวิตใหม่ในที่ดินผืนแรก ของ โอภาส และบุษยา อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

จากชีวิตที่เคยลำบาก เคยยากจน เคยล้มเหลวจากหลายอาชีพ เคยเช่าที่ทำนาแต่ก็ขาดทุน และเคยถูกหลอกให้ลงชื่อ อบรมเพราะหวังว่าจะได้ที่ดินทำกิน เสียเงินมาก็หลายครั้ง เสียใจและผิดหวังมาก็มาก แต่โอกาสที่มีเพียงครั้งเดียวของบุษยา และโอภาส ทวีชาติ คือการเข้าเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ. นครราชสีมา และเธอไม่รีรอ ขอเข้ามาพิสูจน์ว่ากลุ่มนี้จะได้รับการสนับสนุนที่ดินทำกินจาก บจธ. จริงไหม แม้จะมีเสียงตักเตือนกลัวจะซ้ำรอยเดิม แต่บุษยาบอกว่า เธอมั่นใจ และพาครอบครัวมาสร้างเพิงพักในที่ดินหลังผ่านขั้นตอนจัดซื้อและทำสัญญาเช่าเมื่อต้นปี 2563 โอภาสออกไปรับจ้างและเก็บของเก่าขาย นำรายได้เป็นทุนพัฒนาปรับปรุงที่ดินกว่า 2 ไร่ จนทุกอย่างเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกว่าภาพเก่าไม่เหลือให้เห็นเลย แม้แต่เพิงพักชั่วคราวก็เปลี่ยนเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรงมากขึ้น วันนี้นาข้าวหอมมะลิ 2 งานที่ปลูกไว้บริโภคในครอบครัว 3 พ่อแม่ลูก ใกล้จะเก็บเกี่ยวแล้ว บ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงหอยก็มีปริมาณเกินกว่าจะบริโภค สามารถนำไปขายได้แล้ว ยังไม่รวมพืชผักอายุสั้น ไม้ผลอีกหลายชนิดที่ให้ผลผลิตมาแล้วหลายรุ่น …

บจธ. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นที่นำร่องธนาคารที่ดินบ้านแพะใต้ ลำพูน วางแนวทางพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน

หลังจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ จ. เชียงใหม่และลำพูน ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากการเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินและแก้ปัญหาแนวเขตที่ดินที่มีการร้องเรียนเรื่องความทับซ้อน ต่อมาปี 2559 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินได้รับงบประมาณมาดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชนดังกล่าว และเริ่มต้นสำรวจพื้นที่และศึกษาลักษณะทั่วไปของชุมชน พร้อมทั้งจัดประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการดำเนินโครงการฯ และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์ แก่ตัวแทนสมาชิกชุมชน โดยมีการประชุมหารือร่วมกับตัวแทนสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน จนสามารถจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ในพื้นที่ในปี 2559 ทั้ง 5 แห่งสำเร็จ และมีการพิจารณาตกลงให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินนับแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ข้อตกลงสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ต่อมาคณะกรรมการ บจธ. มีมติขยายระยะเวลาการใช้ประโยชน์ที่ดินไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และให้ บจธ. ออกแบบวิธีการและรายละเอียดทั้ง 5 พื้นที่ว่าจะเป็นการเช่า หรือเช่าซื้อ ล่าสุด นาย…

บจธ. ลงพื้นที่ ไร่ดง ป่าซาง ลำพูน-เชียงใหม่ ขับเคลื่อนพื้นที่นำร่องธนาคารที่ดิน สู่ความยั่งยืน

24 ตุลาคม 2564 หลังจากคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) มีมติให้ขยายเวลาการใช้ประโยชน์ที่ดินแก่สมาชิกโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 ชุมชนในพื้นที่ จ .ลำพูน และจ.เชียงใหม่ ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการ บจธ. มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการที่ดิน 2 ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ลงพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลสมาชิก การใช้ประโยชน์ที่ดิน พร้อมบันทึกภาพมุมสูง เพื่อใช้ประกอบการทำผังแปลงที่ดิน โดยเริ่มพื้นที่แรกที่สหกรณ์การเกษตรเกษตรโฉนดชุมชนป่าซาง จำกัด 2 ชุมชนคือชุมชนบ้านไร่ดงและบ้านแม่อาว ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และจะเดินทางไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่เหลือต่อไป บจธ. ลงพื้นที่นำร่องธนาคารที่ดิน 5 ชุมชนอยู่ภายใต้สหกรณ์การเกษตรโฉนดชุมชนบ้านท่ากอม่วง จำกัด ต.หนองปลา สะวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน สหกรณ์การเกษตรโฉนดชุมชนบ้านแพะใต้ จำกัด ต.หนองล่อง อ.เวียงหนองล่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน สหกรณ์การเกษตรโฉนดชุมชนป่าซาง จำกัด (ช…