PG SLOT UFABET BETFLIX88 33CROWN PGSLOT FAFA123 SIAM123 CHANG123 Chang123 UFABET UFABET PG SLOT PG SLOT FUN88 MADAM66 Pragmatic Play pg slot pg slot pg slot Chang123 CHANG123 GOD55 CHANG123 CHANG123 ufabet PGSLOTID fortune mouse
ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านองค์การมหาชน ชี้ บจธ.มีเหตุผลในการดำรงอยู่ – สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านองค์การมหาชน ชี้ บจธ.มีเหตุผลในการดำรงอยู่

 
       นายอาวุธ วรรณวงศ์ ที่ปรึกษาบริษัททริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนระยะที่ 1 ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. กล่าวในการประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีีส่วนได้ส่วนเสียต่อบทบาทและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ที่อาคารเบญจสิริ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ว่า บจธ. ยังมีความสำคัญในเรื่องที่กำลังทำอยู่และยังมีบทบาทสำคัญ   การที่ออกพระราชกฤษฎีกาจึงมีเหตุผลในการดำรงอยู่ ฉะนั้นในการประเมินความคุ้มค่าครั้งนี้ได้กำหนดรูปแบบคือ CPER มาจาก Coherence ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์จัดตั้ง   Performance ผลการปฏิบัติงาน   Ecosystem กลไกสำคัญในระบบนิเวศ   Resilience & Agility ความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  ซึ่งทั้ง 4 มิติต้องนำมา Balance และใช้ในการประเมินองค์กร  โดย C คือความสอดคล้อง มาจากคำว่า  Coherence  แผนปฏิบัติงาน แผนพัฒนาประเทศ ที่จะเกิดขึ้น  P คือ performance ส่วน E คือ Ecosystem คือ Template รูปแบบธุรกิจอย่างหนึ่ง และจัดวางระบบ Ecosystem ให้เหมาะสม  ธนาคารที่ดินทำคนเดียวคงไม่สำเร็จถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจาก R คือ  Resilience  เป็นความยั่งยืนความอยู่รอดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงหรืออุปสรรคต่างๆของธนาคารที่ดิน จะ focus ที่ Performance กับการทำงานในท่ามกลางผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ซึ่งตัว P กับ E เป็นปัจจัยสำคัญ  โดยมีแผนผังระบบนิเวศ บจธ. เป็นตัวนำเข้าที่สำคัญ  เริ่มต้นจากการจัดหาที่ดิน ซึ่งปัญหาที่สำคัญของการจัดตั้งองค์กรแห่งนี้ คือ เรื่องปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ยากไร้  มีปัญหาความยากจนเข้ามาเกี่ยวด้วย เพราะฉะนั้นการมีต้นทุน มีที่ดินทำกินก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ขณะเดียวกันที่ดินก็เป็นปัจจัยผลิตของชุมชนของเกษตรกร ถ้าไม่มีที่ดินก็ไม่มีเรื่องของการทำการเกษตร เมื่อเราได้ที่ดินมาแล้ว ก็มีระบบสินเชื่อเข้ามาอีก ระบบของธนาคารก็จะเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้นทุนที่นำมาของที่ดิน พอมีที่ดินแล้ว สาธารณูปโภคก็อาจจะไม่เพียงพอในการทำเกษตรกรรม ก็ต้องมีการพัฒนาที่ดิน เป็นเรื่องของการให้สินเชื่อและการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน  การชลประทาน ทำการจัดรูปที่ดิน ทำถนน ทำบ่อน้ำ เป็นต้น เวลาจะพัฒนาอะไรก็ตามต้องพัฒนาอยู่ 3 เสาหลัก ก็คือ พัฒนาสินค้า พัฒนาผู้ประกอบการ พัฒนาตลาด เป็นแกนหลักที่สำคัญตรงที่จะนำ Ecosytem แผนผังที่เราเรียกว่า result chain (Process – output – outcome –impact ) หรือห่วงโซ่ผลสัมฤทธิ์
 
       " ปัญหาที่ดินเกิดขึ้นมานานแล้ว ที่เห็นได้ชัดเราจะมีม็อบปีละ 2 – 3 ครั้งเกี่ยวกับเรื่องที่ดินทำกิน และเรื่องที่ 2 เรื่องการกระจายที่ดิน และระบบนายทุน   จนปี 2554 เกิด Solution ที่ทางภาครัฐเป็นธนาคารที่ดินเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรให้มีพื้นที่ทำกิน ให้สามารถยืนด้วยขาตัวเองได้ เพราะมีเกษตรกรจำนวนมากใช้วิะีการเช่าที่ดินนายทุน  และที่ประสบปัญหาการดำรงชีวิตก็จะนำที่ทำกินเหล่านั้นไปจำนอง มีการสูญเสียที่ดินกับอีกหลายประเด็น   อาชีพสำคัญในชนบทเป็นอาชีพที่เราชำนาญอยู่ ก็คือเรื่องของเกษตรกรรมซึ่งตัวโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยการผลิตที่สำคัญนั้นไม่มีเป็นของตนเอง จึงเป็นภาระหน้าที่ของ บจธ. ที่จะต้องให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และบจธ. ก็มีแผนพัฒนาไปองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติอยู่แล้ว ทำเรื่องช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ก็คือการกระจายที่ดินอย่างเป็นธรรม " นายอาวุธ กล่าว
 
#ธนาคารที่ดิน #บจธ #กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม #องค์การมหาชน